บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กรมป่าไม้ และชุมชนรอบพื้นที่ โครงการเขาพระยาเดินธง รวมพลังสานต่อความมุ่งมั่นอนุ รักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” เข้าสู่ปีที่ 8 เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ ประเทศไทย ฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำลำธาร ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ จัดกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ 4 ฝาย เพื่อกักเก็บน้ำก่อนเข้าสู่ช่ วงแล้ง และทำแนวตรวจการป้องกันไฟป่ าระยะทาง 400 เมตร เป็นกิจกรรมครั้งที่ 2 ของปี 2566 ได้รับเกียรติจาก ดร.รัฐพล ธุระพันธ์ นายอำเภอพัฒนานิคม เป็นประธานเปิดกิจกรรม และร่วมทำฝายชะลอน้ำ กับจิตอาสาซีพีเอฟจากสายธุรกิ จต่างๆ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ชุมชน ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองจังหวั ดลพบุรี หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่ าเขาเอราวัณ คณะอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิ ทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ร่วมกิจกรรมประมาณ 200 คน โดยมีนายบัญชา ขาวเมืองน้อย ผู้อำนวยการอาวุโส ซีพีเอฟ ในฐานะรองประธานคณะทำงานโครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง นายถนอมพงษ์ สังข์ธูป ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการปลู กป่า และหัวหน้าโครงการเขาพระยาเดิ นธง สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี) พร้อมชุมชน ให้การต้อนรับ
ดร.รัฐพล ธุระพันธ์ นายอำเภอพัฒนานิคม กล่าวว่า ขอขอบคุณซีพีเอฟและพนักงานจิ ตอาสาทุกคน ที่มีความมุ่งมั่นดูแลทรั พยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่ องมาเป็นปีนปีที่ 8 แล้ว ถือว่ามีส่วนร่วมในการสร้ างโลกที่น่าอยู่ อยากเห็นโครงการฯดำเนินการต่ อไปเรื่อยๆ เราได้เห็นโครงการปลูกป่าเกิดขึ้ นมากมาย แต่การดูแล รักษา และฟื้นฟูยังมีไม่มาก จึงขอชื่นชมบริษัทฯและพนักงานที่ เข้ามาทำโครงการนี้ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ และสร้างระบบนิเวศที่ดีในพื้นที่ เช่นกิจกรรมในวันนี้ ชื่นใจที่ได้เห็นทุกคนมาช่วยกั นทำฝายชะลอน้ำ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวดิ นในพื้นที่ สัตว์มีแหล่งน้ำที่ใช้กิน และทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟป่ า ทำให้เขาพระยาเดินธงเป็นผืนป่ าที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยมื อของพวกเรา

“ความร่วมมือ 3 ประสาน ระหว่าง ซีพีเอฟ กรมป่าไม้ และชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดิ นธง ทำให้ในวันนี้ ผืนป่าเขาพระยาเดินธง เป็นผืนป่าอีกแห่งหนึ่ งของประเทศไทยที่มีความอุดมสมบู รณ์ ซึ่งสะท้อนจากดัชนีหลายด้าน อาทิ ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ พืชและสัตว์ เช่น ผีเสื้อ เห็ดรา เป็นแหล่งอาหารของชุมชน เป็นแหล่งน้ำของสัตว์ที่เข้ ามาอาศัย เป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกป่า ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของดิน เพิ่มปริมาณน้ำของแหล่งน้ำหลั กในพื้นที่ จากการที่เราอนุรักษ์และฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ช่วยให้มีน้ำที่ไหลลงสู่เขื่ อนป่าสักชลสิทธิ์ และน้ำที่ไหลไปยังแหล่งน้ำของชุ มชนได้ใช้อุปโภคบริโภค “นายบัญชา กล่าว
