วัดนางพญา สันนิษฐานว่าสร้างโดย พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระองค์สร้างพระนางพญาในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ พื้นที่ติดกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวิหาร(วัดใหญ่)โดยมีถนนจ่าการบุญคั่นกลาง
นอกจากนั้นอยู่ติดกับวัดราชบูรณะ แต่ปัจจุบันถนนสายมิตรภาพตัดผ่าน ทำให้วัดนางพญากับวัดราชบูรณะ จำเป็นต้องตั้งอยู่คนละฝั่งถนนและได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี พ.ศ.2497 เฉพาะวิหารปัจจุบันเป็นอุโสถ และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบ 2 องค์
พระนางพญา กรุวัดนางพญา
วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร วัดนี้มีชื่อเสียงในเรื่องพระเครื่อง คือ “นางพญา” ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ พระนางพญาจึงเป็นพระสุดยอด หนึ่งในชุดเบญจภาคี
ปัจจุบันนี้หายากมากเป็นพระสุภาพสตรีที่เป็นนักปกครองและหัวหน้างานที่ต้องดูแลลูกน้องหรือพนักงานจำนวนมาก โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชายำเกรงประดุจ “นางพญา”
พระประธานในอุโบสถเรียก”พระสมเด็จนางพญาเรือน” สร้างพระเครื่องพิมพ์นางพญา และเจดีย์เก่า 2 องค์ มีมาคู่กับวิหารนางพญา สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติ์พระนางวิสุทธธิกษัตรีย์ วิหารชำรุดทรุดโทรม ทางวัดได้บูรณะของเก่าทำให้เป็นอุโบสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระฤกษ์สร้างอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ.2521
พระนางพญา อายุการสร้างประมาณ 400 ปี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ไม่มีฐาน ไม่มีซุ้ม ตัดขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมชิดกับองค์พระประทาน หลังเรียบ สันนิษฐานว่า พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และพระมารดาของพระสุพรรกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระสมเด็จเอกาทศรถ เช่นนั้นพระวิสุทธิกษัตรีย์ได้ทรงสร้างพระนางพญา ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ราวปี พ.ศ.2090-2100 และทรงสร้าง”พระนางพญา” บรรจุในองค์พระเจดีย์ตามคติโบราณพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง และพระวิสุทธิกษัตรีย์ ดำรงค์ตำแหน่งยศ แม่เมืองสองแคว และพระมหาธรรมราชา ทรงพระอิสริยยศที่ พระอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
วัดนี้ต่อมาได้ถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นเวลานานเนื่องจากมีเหตุผลศึกสงคราม จนกระทั่งมีการขุดพบเจอ”พระนางพญา” วัดนางพญาจึงมามีชื่อเสียง ได้มีการพบพระนางพญาครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 โดยทางวัดมีดำริสร้างศาลาเล็กๆ ขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด เพื่อเป็นปะรำพิธีในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ครั้นพอขุดจะลงเสาก็ได้พบ”พระนางพญา” จำนวนมากฝังจมดินอยู่กับซากปรักหักพังจึงได้เก็บรวบรวมไว้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 เสด็จไปยังวัดนางพญา จึงนำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยทั่วหน้า พระนางพญาบางส่วนจึงมีการนำกลับมายังพระนคร
พระนางพญา กรุวัดนางพญา พิมพ์กลาง
ต่อมาในปี พ.ศ.2470 พระอธิการถนอม เป็นเจ้าอาวาส และตามธรรมชาติองค์พระเจดีย์ด้านทิศตะวันออกของวัดได้เกิดพังทลายลง ก็ปรากฏพบพระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกมิมีผู้ใดสนใจ
ดังนั้น พระนางพญาที่พบเจอจึงถูกเก็บไว้ในวัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุยังกรุอื่นๆ ดังนั้นประวัติความเป็นมาของ”พระนางพญา แห่งวัดนางพญา” จึงเป็นเหตุสำคัญในการอ้างอิงถึงการพบพระนางพญาในกรุอื่นๆ ที่ จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ก็มีการพบที่กรุวัดอินทราราม วัดเลียบ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่ได้มาเมื่อปี พ.ศ.2444 แล้วนำมาบรรจุกรุในเจดีย์ตามวัดต่างๆจะมีอยู่มากน้อย ไม่สามารถระบุได้ แต่เมื่อผ่านกาลเวลา สภาพองค์พระในแต่ละสถานที่ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพกรุที่บรรจุ
อย่างไรก็ตาม พระนางพญา แห่งวัดนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา องค์พระจึงมีสีไม่เหมือนกันและเนื้อดินมีขนาดแตกต่างขึ้นอยู่กับหดตัวของดินเมื่อถูกเผาตามอุณหภูมิ พุทธศิลป์ผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยและอยุธยา ผ่านกาลเวลามานานจึงมีรอยเหี่ยวย่นจากการหดตัวของมวลสาร
ปัจจุบันพระนางพญาจึงได้ถูกจัดให้เข้ามาอยู่ในชุดเบญจาภาคี เพราะเป็นพระเครื่องที่สุดยอดปรารถนาของนักนิยมพระเครื่อง ผู้ใดได้ครอบครองเป็นเจ้าของเชื่อว่าผู้นั้นเปี่ยมด้วยวาสนา บารมี เฉกเช่นเดียวกับ “ปิยะวัฒน์ ปานเอี่ยม” (ต้อ พิษณุโลก) ที่มีความชื่นชอบพระกรุพิษณุโลกเพราะชอบในความงามของพุทธศิลป์ที่อยู่ในองค์พระขณะเดียวกัน “ต้อพิษณุโลก”ก็เป็นลูกหลานชาวจังหวัดพิษณุโลก วิทยฐานะจบปริญาตรีสาขาอุตสาหกรรมศิลป์ เคยเข้าไปเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
ปัจจุบันได้ลาออกจากเป็นอาจารย์มาประกอบธุรกิจส่วนตัว เข้ามาสะสมและศึกษาพระกรุเมืองพิษณุโลกและต่อยอดเป็นพระกรุจังหวัดใกล้เคียงโดยเริ่มสะสมและศึกษาพระเครื่องเมื่อปี พ.ศ.2540
ที่สำคัญ พระนางพญาที่บูชาก็มีประสบการณ์เกิดขึ้นกับ ต่อ พิษณุโลก “ต้อ”เล่าว่าตอนนั้นพึ่งเรียนจบมาใหม่ และได้ขับรถมอเตอร์ไซค์ไปหาพระภิกษุที่นับถือและท่านได้มอบพระนางพญามาองค์หนึ่งเพื่อรับขวัญที่เรียนจบการศึกษา หลังจากนั้นก็ขอลาพระภิกษุที่นับถือกลับบ้านโดยการขับรถมอเตอร์โชค์ แต่ด้วยวันหนุ่ม วัยคะนองบวกกับได้พระนางพญา ความดีใจ จึงได้ขับเร็วกว่าปกติ เพราะต้องการจะนำพระนางพญาไปอวดกับครอบครัว จึงได้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ส่งผลให้ร่างกายกระเด็นหลุดจากตัวรถมอไซต์ทันที แต่อภินิหารมีจริงเหมือนมีมือใหญ่ๆมารับเอาไว้จึงไม่ได้รับอันตรายเพียงแค่มีบาดแผลเล็กน้อยแต่รถพังยับเยิน
เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่เคยลืมจนถึงทุกวันนี้ว่ามีพระนางพญาขึ้นคอ ทุกก้าวเดิน จะโชคดีแคล้วคลาด ปลอดภัย
พระนางพญา แห่งวัดนางพญา เป็นพระเครื่องที่มีความสำคัญ ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณ และด้วยพุทธลักษณะอันงดงาม กอปรกับพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศทั้งเมตตามหานิยม อำนาจวาสนาบารมี แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เป็นที่กล่าวขาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้า”พระเบญจภาคี”
มาถึงทุกวันนี้
เรื่อง/ภาพ โดย พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ