รูปปั้นหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ประดิษฐ์ฐานหน้าโบสถ์วัดสะพานสูง
“ถ้าหากว่าเหตุทุกข์ภัยเกิดขึ้นขอให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านแล้วกัน เมื่อระลึกถึงท่านแล้วเอ่ยนามท่าน ทุกข์ภัยเหล่านั้นก็จะได้รับการขจัดปัดเป่าด้วยดีทุกครั้งไป”
ตะกรุดโทนมหามงคลโสรฬและพระปิดตามหามงคลโสรฬสุดยอดของพุทธคุณมีไว้บูชาแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหาลาภ
ตะกรุดตะกั่วถ้ำชา หลวงปู่เอี่ยม ปัจจุบันนี้หายาก
พระเครื่อง คือ รูปสมมุติของพระพุทธเจ้า พระอริยะสงฆ์ พระโพธิสัตว์และเทพเจ้า ซึ่งมีความเป็นมาและวิวัฒนาการได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยทวารวดี พร้อมกับความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์ขึ้นมาเมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป คติการสร้างพระเครื่องต้นกำเนิดอยู่ประเทศอินเดียแพร่ขยายอิทธิพลพุทธศาสนาไปสู่ภูมิภาคต่างๆจึงทำให้พระพิมพ์ซึ่งเป็นปฏิมากรรมเนื่องในคติทางพุทธศาสนาแพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆพร้อมคำสอน ความเชื่อทางพุทธศาสนา พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ
ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการสร้างพระเครื่องมากมายหลายรุ่น เพื่อเป็นการแทนองค์พระพุทธเจ้าในรูปปางต่างๆในพุทธประวัติและท่าทาง หรืออิริยาบถต่อมาได้สร้างรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่นับถือและตัวอักขระเลขยันต์ลงบนผ้า ไม้มงคล โลหะ พระเกจิอาจารย์มีปฎิประทาที่ในประเทศไทยมีมากแต่จะนำเสนอพระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยจริยาวัตรและเก่งในด้านวิปัสสนากรรมฐาน เกจิอาจารย์จังหวัดนนทบุรี ที่มีชื่อเสียงและคนไทยกราบไหว้มาถึงปัจจุบันนี้ คือ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ผู้ที่โด่งดังในเรื่องของตะกรุดและพระปิดตา เจ้าอาวาสวัดสะพานสูง
พระปิดตา พิมพ์ว่าวจุฬาเล็ก หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม
ประวัติท่านเป็น ชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่2 ในปี พ.ศ.2359 หลวงปู่เอี่ยม เป็นพี่คนโตในพี่น้อง 4 คน ท่านมีนิสัยเป็นผู้ใฝ่การเรียนจึงมักจะหาความรู้ตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐาน
ต่อมา พอย่างอายุ 22 ปี จึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.2381 ที่วัดบ่อปากเกร็ด จำพรรษาอยู่วัดบางบ่อได้ 1 ปี แล้วย้ายไปจำพรรษาที่วัดกัลยาณมิตร วัดประยูรวงศาวาส วัดนวลนรดิส รวมได้ 15 พรรษา ภายหลังญาติโยมและชาวบ้านต่างพากันเดินทางไปนิมนต์ให้หลวงปู่กลับมาอยู่ที่วัดภูมิลำเนาเดิม ท่านได้ย้ายกลับมา โดยกลับมาจำพรรษาที่วัดสะพานสูง ในปี พ.ศ.2396
พระปิดตาข้าวตอกแตก หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง บางขุนเทียน
“วัดสะพานสูง” เดิมชื่อ”วัดสว่างอารมณ์” สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อคราวที่”สมเด็จพระยาวชิรญาณวโรส วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จไปตรวจคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด(คลองพระอุดม)ชาวบ้านเรียกวัดสะพานสูงกันจนติดปาก พระสมเด็จพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นสะพานก็เป็นนิมิตที่มีประจำวัดประมาณหนึ่งและชาวบ้านก็เรียกจนติดปากจึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อจากวัดสว่างอารมณ์มาเป็นวัดสะพานสูงมาจนทุกวันนี้
หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม จำพรรษาที่วัดสะพานสูง เมื่อถึงช่วงเวลาออกพรรษาท่านก็มักออกธุดงควัตรเสมอ ออกธุดงค์แต่ละครั้งจะไปครั้งละหลายๆปีไปทุกภาคและแถบประเทศเพื่อนบ้าน ออกธุดงควัตรจนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่คิดว่าได้มรณภาพในป่าแล้วไม่เห็นกลับวัด จึงได้พากันทำบุญสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน หลวงปู่เอี่ยมท่านทราบได้ด้วยญาณของท่านเอง หลวงปู่เอี่ยม จึงได้กลับมาวัดในสภาพผมยาวหนวดเครารุงรัง จีวรขาดวิ่น จนชาวบ้านจำหลวงปู่ไม่ได้ บ้างก็ว่าท่านเสียจริต
ตะกรุดสาริกา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
แต่เหตุผลกลับใช่เป็นเช่นถูกกล่าวหา หลวงปู่เอี่ยม ขณะธุดงค์อยู่ในป่าไม่ได้ปลงผม ผมยาวถึงบั้นเอว หนวดเครายาว จีวรขาดรุ่งริ่ง พร้อมมีสัตว์ป่า เช่น หมี เสือ งูฯลฯ ติดตามหลวงปู่มา
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่หลวงปู่เอี่ยมเที่ยวออกธุดงก็ได้เจอชีปะขาวเป็นชาวเขมรชื่อว่า”จันทร์” จึงฝากตัวและเล่าเรียนวิชาอิทธิเวทย์จบจบทุกวิชาจนชีปะขาวไม่มีอะไรสอน ขณะนั้นก็ได้เก็บต้นว่านไว้เป็นจำนวนมากไว้รักษาโรคและสร้างวัตถุมงคล และยังมีมวลสารที่เก็บขณะที่ท่านกลับมา วัตถุมงคลที่หลวงปู่เอี่ยมได้นำเอามวลสารทั้งหลายมาสร้างวัตถุมงคล เช่น พระควัมปติ(พระปิดตา)และตะกรุดโทนมหามงคลโสรฬโดยท่านจะจารลงบนแผ่นโลหะแล้วพอกด้วยมวลสารที่ท่านเก็บและถักด้วยเชือกสายสิญจน์แล้วปลุกเสกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ หลังจากที่หลวงปู่กลับมาจากป่าท่านเห็นวัดทรุดโทรมจึงได้บูรณะวัดเป็นการใหญ่และสร้างเสนาสนะ ลูกศิษย์ที่มาร่วมบูรณะก็จะได้รับตะกรุดและพระปิดตาเป็นของที่ระลึก
หลวงปู่เอี่ยมท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2439 สิริอายุ80ปี พรรษา59 ต่อมาได้มีการปั้นรูปเหมือนของ”หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม” เท่าองค์จริงประดิษฐ์ที่หน้าโบสถ์วัดสะพานสูงได้มีผู้เลื่อมใสและนับถือแวะเวียนมากราบไหว้ขอพรบนบานศาลกล่าวมิได้ขาดสาย
ที่สำคัญ กิตติมศักดิ์ของ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม แลวัตถุมงคล ที่ชื่อดังไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ จนทำนักสะสมอยากได้มาเป็นเจ้าของเพื่อบูชา เช่น สมัชชา วิเชียร”หนึ่ง คลองพระอุดม” เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาใน หลวงปู่เอี่ยมเป็นอย่างมาก หนึ่ง คลองพระอุดม เป็นลูกหลานชาวปากเกร็ด มีตาเป็นชาวมอญ(รามัญ)ก่อนหน้านั้นมีอาชีพเป็นนักดนตรีเล่นตามร้านอาหาร สถานบันเทิงผับ บางทีก็เล่นดนตรีเปิดหมวกตามที่สาธารณะ ได้ผันตัวเข้ามาเป็นนักสะสมและศึกษา เนื่องจากอาศัยว่าบิดาของตนก็ชอบเก็บสะสมวัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยมและได้ทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติสืบทอดตกมาถึง”หนึ่ง“คลองพระอุดม หรือถือว่าเป็นสินทรัพย์อีกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินก็ว่าได้ หันมาเป็นนักสะสมและศึกษาอย่างเต็มตัวเมื่อพ.ศ.2554 ได้นำเอาตะกรุดที่พ่อบูชาติดตัวมาศึกษาดูความเก่าของตะกรุด”ถือว่าตะกรุดดอกนี้เป็นองค์ครูให้ศึกษา”
สมัชชา วิเชียร “หนึ่ง คลองพระอุดม”
หนึ่ง คลองพระอุดม มีความแม่นในการดูตะกรุดและพระปิดตา วัตถุมงคลจังหวัดนนทบุรี และได้ต่อยอดเพิ่มไปสายกรุงเทพฯ สายอ่างทอง สายเพชรบุรี พระเครื่องและเครื่องราง ที่สร้างขึ้นมาล้วนแต่จะไม่เหมื่อนกัน บางองค์แคล้วคลาด บางองค์เมตตา บางองค์คงกระพัน และ”หนึ่ง คลองพระอุดม “ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้พบเจอ ครั้งหนึ่งได้ถูกรับเชิญไปเล่นดนตรี ระหว่างที่เล่นดนตรีจู่ๆมีเสียงปืนดังขึ้น ตนนั้นก็ไม่สนใจอีกพักใหญ่ก็มีเสียงปืนขึ้นเลยหลบหนีลงจากเวทีเพราะลูกกระสุนปืนเฉี่ยวหัว แคล้วคลาดจากกระสุนปืน ตอนนั้นก็บูชาตะกรุดโทนมหามงคลโสรฬ(ตะกรุดตะกั่วถ้ำชา)ของ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงและพระปิดตาข้าวตอกแตก ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง บางขุนเทียน ทุกวันนี้จึงติดตัวบูชามาตลอด การที่จะมาเป็นนักสะสมและศึกษาจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ไม่โลภ จริงใจกับผู้เช่าซื้อ มีอุดมการณ์ ต้องศึกษากับผู้ที่รู้จริง และเชื่อถือได้แล้วจะไม่หลงทาง
หลวงปู่อี่ยม ปฐมนาม ท่านอาพาธด้วยโรคชราและใกล้มรณภาพ มีลูกศิษย์ที่คอยดูแลและปรณนิบัติท่านอย่างใกล้ชิด จึงได้กราบเรียนกับหลวงปู่เอี่ยมว่า”อาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว” ถ้าท่านมีอะไรก็ขอให้สั่งกับศิษย์เป็นครั้งสุดท้ายหลวงปู่ท่านได้กล่าวกับลูกศิษย์ว่า”ถ้าหากว่าเหตุทุกข์ภัยเกิดขึ้นขอให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านแล้วกัน” เมื่อระลึกถึงท่านแล้วเอ่ยนามท่านทุกข์ภัยเหล่านั้นก็จะได้รับการขจัดปัดเป่าด้วยดีทุกครั้งไป
สาธุ…
เรื่อง/ภาพ โดย พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ