วันที่ 13 มีนาคม 2566 ทีมคณะสำรวจนกน้ำที่อาศัยในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร นำโดย อาจารย์ มงคล วงศ์กาฬสินธุ์ ประธานชมรมดูนก แอนด์ เนเจอร์ ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกภูมิภาคอาเชียน นายนิพนธ์ มูลเมืองแสน นายกสมาคมผู้ใช้น้ำจังหวัดสกลนคร นายเจริญชัย ศิริคุณ ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร และภาคประชาชน ลงพื้นที่หนองหาร เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลภาพนก รวมทั้งสัตว์ที่อาศัยในพื้นที่น้ำหนองหาร เพื่อปลุกกระแสการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหาร ให้ร่วมหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติโดยหนองหารจังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีเนื้อที่กว่า 77,016 ไร่ หรือ 123 ตารางกิโลเมตร มีสัตว์หลากหลายสายพันธ์
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของนกนานาชนิด ทั้งเป็นนกอพยพและเป็นนกประจำถิ่น สำหรับนกประจำถิ่นที่พบในพื้นที่แห่งนี้ สำหรับข้อมูลที่จดบันทึกครั้งล่าสุด พบว่ามีนกประจำถิ่น 60 ชนิด นอกจากนี้ยังมีนกอพยพอีกกว่า 20 ชนิด จากการสำรวจ ของทีมคณะสำรวจนกน้ำที่อาศัยในพื้นที่หนองหารจังหวัดสกลนคร นำโดย อาจารย์ มงคล วงศ์กาฬสินธุ ประธานชมรมดูนก แอนด์ เนเจอร์ ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกในภูมิภาคเอเชีย ในครั้งนี้ใช้เวลา สั้นๆ เพียง 2 วัน โดยแบ่งทีมสำรวจออกเป็น 3 ทีม ซึ่งในแต่ละทีมประกอบด้วยนักดูนก ช่างภาพนกมืออาชีพ ซึ่งพบว่านกน้ำที่อาศัยหากินอยู่ในพื้นที่หนองหารมีการเพิ่มจำนวนที่มากขึ้น อาจเนื่องมาจากการล่านก ของประชาชนโดยรอบน้อยลง พบมีนกต่างถิ่นที่ไม่เคยพบในจังหวัดสกลนครหลายชนิด เช่น เหยี่ยวแดง พบทั้งตัวผู้ และตัวเมีย นกนางนวลแกรบเคราขาว นกกระสาแดง ฯลฯ
แต่ที่ทำให้นักดูนก ตื่นเต้นในครั้งนี้ คือการพบ นกช้อนหอยดำเหลือบ ซึ่งเป็นนกหากยากของไทย โดย อาจารย์ มงคล วงศ์กาฬสินธุ ประธานชมรมดูนก แอนด์ เนเจอร์ ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกในภูมิภาคอาเชียน กล่าวว่า นกชนิดนี้ พบน้อยมาก เคยมีการพบเห็น รวมตัวกันมากสุดเพียงแค่ 1-2 ตัว ซึ่งนักดูนกคาดการว่า ทั้งประเทศไทย มีนกชนิดนี้ไม่เกิน 40 ตัว ฉะนั้นการส่องนกชนิดนี้ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายของนักดูนกทั่วประเทศ จุดไหนมีมีข่าวการค้นพบ จะมีนักดูนกทั่วประเทศแห่กันไป สร้างไพร เพื่อชมความงาม ความหายาก การพบนกปากหอยดำเหลือบในพื้นที่หนองหารครั้งนี้ ถือเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เพราะการค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นการพบนำช้อยหอยดำเหลือบที่มากที่สุดของประเทศไทย คือมีการพบอยู่เป็นฝูงใหญ่ อาจจะถึง 50-100 ตัว
สำหรับลักษณะ มีปากโค้งยาวสีเหลืองคล้ำ หัว คอ และลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม รอบใบหน้าเป็นเส้นสีขาวแกมฟ้า มีลายขีดขาวกระจายที่หัวและคอ ปีกและหลังตอนท้ายเขียวเข้มเหลือบเป็นมัน แข้งและตีนน้ำตาลเข้ม หัว คอ และลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มแกมม่วง หน้าผากเขียวเข้ม ไม่มีลายขีดขาวกระจายที่หัวและคอ เส้นรอบหน้าชัดเจนขึ้นสีฟ้าอ่อน สีเขียวที่ปีกและหลังตอนท้ายเหลือบเป็นมันและแกมสีม่วงมากขึ้น ปากสีน้ำตาลอ่อนกว่าช่วงปกติ ส่วนนกวัยอ่อน : สีหม่น ไม่มีเส้นรอบหน้า หัวและคอมีจุดขาวหนาแน่น ขนปีกไม่เหลือบเป็นมันหรือมีเพียงเล็กน้อย ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก : พื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ ทุ่งนา บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ทุ่งนาในพื้นที่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
นาย อิทธิพล นามโพธิ์ชัย นักถ่ายภาพนก ที่ถ่ายฝูงนกปากหอยดำเหลือบในครั้งนี้กล่าวว่า จุดที่พบฝูงนกปากหอยดำเหลือบในครั้ง เป็นจุดริมหนองหาร บริเวณบ้านดอนงิ้ว ตำบลงิ้วด่อน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยการสำรวจนกน้ำในพื้นที่หนองหาร ตนได้เข้าไปสร้างไพร จุดแอบถ่ายภาพนก เพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติ เวลาประะมาณ 6 -7 โมงเช้า พบนกปากหอยดำเหลือมฝูงใหญ่ บินมาลงหากิน ซึ่งคาดการด้วยสายตา มีประมาณ 50 -100 ตัวได้ ถือเป็นการบันทึกการพบนกครั้งใหญ่ของประเทศไทย และของจังหวัดสกลนคร เนื่องจากพบนกช้อนหอยดำเหลือบในพื้นที่หนองหาร เพราะเป็นพื้นที่ ที่ไม่เคยพบนกหายากชนิดนี้มาก่อน นอกจากนี้ยังเป็นการพบเป็นฝูงใหญ่มากอีกด้วย นั้นก็แสดงให้ชาวโลก นักส่องนก พี่น้องประชาชนได้เห็นว่า หนองหารสกลนคร เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย มีความอุดมสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
วัฒนะ แก้วก่า จ.สกลนคร/รายงาน