พระศรีศากยมุนีนครศรีธรรมราช พระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช พระค้ำฟ้า แย้มยิ้มพระโอษฐ์ เปี่ยมด้วยเมตตาปราณี ร่มเย็นเป็นสุข
พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช เป็นพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารหลวง วัดพระบรมธาตุ “วัดพระมหาธาตุ” อารามหลวงชั้นเอก ในตำนาน”พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ระบุว่า เจ้าชายธนกุมารและนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็กๆเป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098″
พระวิหารหลวงที่ประดิษฐานพระศากยมุนีนครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช
พ.ศ.1719 “พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชพร้อมก่อสร้างเจดีย์ใหม่ ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเจดีย์ทรงลังกา ภายในวัดพระมหาธาตุ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่ อย่างวิหารสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระคู่บ้าน-คู่เมือง นามว่า”พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช”
วิหารหลวง ตั้งอยู่นอกบริเวณเขตพระระเบียง ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างในสมัยสุโขทัย ได้มีการปฏิสังขรณ์เป็นระยะจวบจนปัจจุบัน
พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชสถาปัตยกรรมระฆังคว่ำ
สถาปัตยกรรมของวิหารหลวงสร้างแบบสุโขทัย มีความกว้างใหญ่และงดงาม เสารอบนอก 40 ต้น เสาภายใน 24 ต้น ห้องห่างระหว่างเสา 13 ต้น ปลายเสาแบบราบเข้าหากัน แบบอยุธยา ทำให้ดูอ่อนช้อย
ด้านหน้าวิหารหลวงแกะสลักไม้รูป”พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ” เป็นภาพอันวิจิตร ด้านหลังแกะสลักเป็น”พระนารายณ์ทรงครุฑ” เพดานเขียนลายไทยปิดทองมีลายดารกาเป็นแฉก หลังคามีช่อฟ้าและใบระกา พระวิหารหลวง ที่แท้จริงแล้ว คือพระอุโบสถของวัดมหาธาตุ แต่ชาวนครศรีธรรมราช ก็ยังเรียก”วิหาร” เดิมอาคารนี้ใช้เป็นวิหารจริงๆ เพราะวัดมหาธาตุในสมัยโบราณไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาคงให้พระอยู่ในวัดที่ล้อมพระมหาธาตุทั้ง4ทิศ เมื่อมาเปลี่ยนแปลงภายหลังผู้คนยังเรียกติดปากว่าพระวิหารอยู่เช่นเดิม
เพดานเขียนลายไทยปิดทองลายดารกา
พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช “พระนั่งวัดมหาธาตุนครศรีธรรมราช” ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ เป็นพระคู่บ้าน-คู่เมือง คู่เมืองนครศรีธรรมราช ค้ำฟ้า คู่กับพระบรมธาตุเจดีย์มาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีพุทธลักษณะที่งดงาม องค์พระประทับนั่งแย้มยิ้มพระโอษฐ์ แผ่อานุภาพให้ลืมความทุกข์โศกด้วยสายพระเนตรที่ทอดลงที่เปี่ยมด้วยเมตตาปราณีบังเกิดความสุขสงบร่มเย็น ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 3 วา 1 ศอก 12 นิ้ว 5 วา ประทับนั่งเป็นประธานในวิหารหลวง วัดพระธาตุวรวิหารและยังมีพระสาวกซ้ายขวา คือ พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พร้อมพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ประทับนั่งเป็นประธานในวิหารหลวง
พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชในทัศนียภาพระยะไกล
มีตำนานเล่าไว้ เมื่อครั้งที่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนเสด็จกลับสู่กรุงสุโขทัย พระองค์ได้ทำสัญญาท้าพระพุทธรูปแข่งกันระหว่างสองอาณาจักร โดยให้เริ่มสร้างพร้อมกัน เสร็จพร้อมกัน และให้ชื่อเหมือนกันว่า”พระศีศากยมุนี แต่เมืองนครศรีธรรมราชได้ใหญ่โตกว่ากรุงสุโขทัยชาวนครศรีธรรมราช จึงถวายนาม” พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช”
พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความงดงาม อีกตำนานหนึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในช่วงที่” พระพนมวัง”ได้พระพุทธรูปองค์นี้ว่า รับแต่งตั้งจาก พระบรมไตรโลกนาถ ให้มารับตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในฐานะหัวเมืองเอกแห่งกรุงศรีอยุธยา ตามกฎหมายศักดินาพลเรือนและกฎหมายศักดินาทหารหัวเมืองพระพนมวัง จึงเข้ามาจัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ดังความในตำนานเมืองนครตอนหนึ่งว่า”พระเจ้าอยู่หัวให้สร้างป่าให้เป็นนาจงทุกตำบล ให้ข้าวแก่คนอันอยู่ ณ เขาให้ออกมาทำไร่และเป็นฐิ่นฐานที่อยู่ให้มีชื่อตำบล ให้สร้างพระพุทธรูปอันใหญ่อันราม แลสร้างไพหารค่อมไว้ และให้พนมวังกฎหมายไว้….”
วัดพระธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
พระศรีศากยมุนีนครศรีธรรมราช เป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาในหมู่ชาวใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช มีความเชื่อกันว่าสามารถดลบันดาลความสำเร็จได้สารพัดและที่สุดก็ต้องคิดดีทำดี
เรื่อง/ภาพโดย พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ รายงาน